วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มีกรอบให้เด็กๆทำไม จะใ้ช้จินตนาการตรงไหน?

Q : ศิลปะต้องใช้จินตนาการ ไร้ขีดจำกัด ถ้ามีกรอบให้เด็กๆ เพราะเรียนผ่านแบบฝึกหัด จะเรียกว่าศิลปะอย่างไร

A : วิธีการมองของ Global Art เรายังเคารพต่อหลักการที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" แต่เราได้เพิ่มไปอีกว่า "เราเชื่อว่าพรสวรรค์เป็นสิ่งที่สร้างได้" ด้วยเหุตุที่เด็กแต่ละวัย มีทักษะติดตัว และพัฒนาการที่เร็วช้าต่างกัน เราจะคาดหวังเพียงให้เด็กในอนาคตวาดภาพสวยๆ หรือให้เข้าใจง่ายๆได้อย่างไร ถ้าเราไม่ฝึกฝนพื้นฐานให้ถูกต้อง การใช้แบบฝึกหัด หลายต่อหลายครั้งทำให้เด็กตัวน้อยๆ รู้สึกอุ่นใจ ค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย เชื่อมั้ยคะ ใครๆอาจนึกไม่ถึงหรอกว่า การให้กระดาษที่ว่างปล่าวขาวสะอาดแก่เด็ก แถมโยนหัวข้อที่กว้างใหญ่ไพศาลนั้น มีเด็กอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องถอดใจ และบ่ายเบี่ยงจนปฎิเสธการวาดรูป และหยุดเรียนศิลปะไปเลย เพราะคิดอยู่ตลอดเวลา เราคงทำไม่ได้ ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีอยู่กับศิลปะเด็ก เห็นมามากทีเดียวที่เด็กจำนวนมากบอกว่า "ไม่อยากเรียนวาดรูปหรอก วาดยังไงก็ไม่สวยแน่นอน" ถ้ามีคุณพ่อ คุณแม่สนับสนุนความเชื่ออีกว่า "ลูกจ๋า เราจะเรียนศิลปะทำไม เราไม่มีพรสวรรค์หรอกลูก" แค่นี้อนาคตเด็กไทยก็ไม่มีอยากหยิบดินสอมาวาดกันแล้วคะ

การใช้แบบฝึกหัดนั้น การสอนยังคงเน้นที่ระบบ Child Center นั่นคือ ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง คิดต่างกันได้ ภายใต้โจทย์เดียวกัน แต่ฝึกฝนจากง่ายไปยากนั่นเอง สำหรับเด็กเล็กๆนั้น จินตนาการของเด็กจะไม่ยึดติดความเป็นจริง เวลาสอนก็เพียงแต่ให้เด็กๆฝึกควบคุมทิศทาง กล้ามเนื่อมือ ถาม ตอบ เหตุผล ทำไมถึงเลือกอย่างนั้น ถ้าไม่เลือกทำแบบนี้ มีแบบอื่นที่ดีกว่านี้มั้ย เพราะอะไร เรียกได้ว่า กระบวนการเรียนในห้องเรียน เน้นไปที่การสร้างคำถามต่อยอดจากจินตนาการในสมองของเด็กอีกทีหนึ่งนั่นเองค่ะ ซึ่งเราเรียกกัน "ความคิดสร้างสรรค์"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น