วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกๆชอบเรียนอะไร ??

Q: ไม่รู้ว่าลูกชอบเรียนอะไรค่ะ เห็นเรียนอะไรก็ชอบไปหมดเลย บ้างก็เห็นลูกเรียนอะไรก็เรียนได้ค่ะ แต่แกเบื่อเร็ว แล้วตกลงลูกๆดิฉันชอบอะไร ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะคะ

A : ผู้เขียนแน่ใจว่า คุณพ่อ คุณแม่ต้องเคยถามตัวเอง หรือคนรอบข้างแบบนี้แน่ๆเลย ใช่มั้ยคะ เด็ำกๆปัจจุบันนี้มีความพร้อมมากกว่าคนรุ่นคุณพ่อ คุณแม่มากอย่างน่าเหลือเชื่อนะคะ อาจเพราะเรามีหลักสูตรเตรียมความพร้อมให้ลูกๆ กันมาตั้งแต่ตัวน้อยๆเลย หลายคนคงเคยฟังเพลงคลาสสิค ขณะตั้งครรภ์ หลายคนเตรียมลูกน้อยไปเข้าคอร์สเสริมพัฒนาการ บ้างก็พัฒนาการฟัง เรียนภาษาแบบออกเสียง มีเครืืองมือที่ช่วยคุณแม่ ให้เตรียมตัวลูกเราได้อย่างดีเยี่ยมขึ้นไปเรื่อยๆ

จึงไม่น่าแปลกใจค่ะ ที่เด็กรุ่นใหม่มีทักษะการเรียนรู้ที่ดีมากไปเสียทุกเรื่อง การจะรู้เสียให้ได้ว่าลูกเราชอบอะไร สังเกตุให้ดีก็จะพอเดาได้นะคะ ยกตัวอย่างเช่น

เด็กที่กล้าพูด กล้าแสดงออก ชอบแต่งตัวสวยงาม ชอบเลียนแบบ ก็น่าจะเริ่มที่การเรียนดนตรี เต้น ได้ไม่ยาก
เด็กที่ชอบขีดเขียน เห็นกระดาษ ยันฝาบ้าน เป็นที่ละเลงบ่อยๆ ก็แววน่าจะไปเรียนศิลปะ ขีดเขียนเป็นเรืืองเป็นราวซะ

เด็กที่ชอบการหยิบจับ เอาวัสดุมาปะติดปะต่อ เล่นสมมุติจากวัสดุ ที่เราแทบมองไม่ออกว่าจะเป็นตัวอะไรได้ ลองให้ฝึกการต่อบล็อค ต่อหุ่นยนต์ ตัวต่อประเภทสามมิติได้

เด็กที่ไม่อยู่นิ่งเฉย พลังงานเหลือเฟือ วิ่งเล่นกลางแจ้ง ห้อยโหนตีลังกา แบบว่าบู๊ล้างผลาญ ผ่านกิจกรรมที่ต้องออกแรง มีแนวโน้มที่จะเล่นกีฬาได้ดี

นอกจากนี้ ความชอบของเด็กๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามวัยเช่นกันค่ะ ช่วงเด็กอนุบาล ประถมต้น โดยมากมักจะชอบวาดรูป เนื่องจากธรรมชาติจะอยู่ในช่วงของการพัฒนากล้ามเนื้อมือมัดใหญ่ มัดเล็ก มีจินตนาการสูง ก็มักจะสร้างผลงานทั้งที่เข้าใจ และหนูเข้า่ใจได้อยู่คนเดียว ออกมาให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ
โตมาหน่อย บ้างก็อยากเล่นกีฬา บ้างก็โน่นเลยค่ะ ชอบเรียนภาษาเพราะอยากร้องเพลงเกาหลีได้ โน่นไปเลย

สิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ควรทำ ก็คือ ให้การสนับสนุนต่อความชอบในแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสม อย่ายัดเยียดให้เด็ก เพียงเพราะว่าอยากให้เค้าเก่งนะคะ ไม่งั้นจะกลายเป็นเรากำลังสร้างความคาดหวัง หรือผลลัพธ์ต่อการเรียนเสริม จนกระทั่งอดบับคับลูกไปจนได้ อย่าลืมว่าเราต้องการให้ลูกใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ผ่านการเรียนจากสิ่งที่เค้าชอบ ต้องท่องประโยคนี้ไว้นะคะ

ทีนี้เมื่อเราสนับสนุน ก็ต้องทำอย่างถูกวิธีค่ะ การเรียนทุกประเภทย่อมต้องใช้ระยะเวลา สั่งสมพอสมควรกว่าจะเกิดทักษะ เห็นเป็นพัฒนาการที่แตกต่าง เด่นชัดจนจับต้องได้ การใช้ระยะเวลา ก็อาจสร้างความทดท้อ เบื่อหน่ายแก่ลูกๆของเราบ้างเช่นกัน และสิ่งที่ีมักทำให้การสนับสนุน กลายเป็นผลลบในทางอ้อม โดยเราไม่รู้ตัวนั้นคือ ประโยคที่ว่า "ชอบเรียนก็ได้ ถ้าอยากหยุดเรียนเมื่อไหร่ก็บอกนะ ไม่บังคับกันนะลูก"

เมื่อเราสนับสนุนในช่วงเริ่มต้น แต่ได้ทิ้งปริศนาให้ลูกน้อยจดจำไว้เสียแล้วว่า เบื่อเมื่อไหร๋ก็หยุดซะ อยากเรียนก็ขอใหม่ กลายเป็นการสั่งสม การเรียนแบบจับจด ขาดความอดทน ไม่อยากทำสิ่งที่ยาก หรือซ้ำๆ
ทีนี้ ลูกๆเราก็จะกลายเป็นเห็นทุกสิ่งอย่าง อยากเรียนไปหมด แต่พอเรียนแล้วก็เบื่อๆ หยุดๆ ขึ้นลงตามอารมณ์ เสมอ

การพูดคุยกับลูก เมื่อทราบว่าจะให้เค้าเรียนเสริมอะไรบ้าง จัดตารางไม่ให้ลูกเหนื่อยจนเกินไป ตั้งกติกาพื้นฐานต่อความรับผิดชอบ จะเรียนแค่ไหน ถึงเมืือไหร่ มีุอุปกรณ์อะไรที่ลูกต้องรับผิดชอบเก็บรักษาเอง โดยให้ลูกรับทราบร่วมกัน ถามลูกสักนิดว่า แต่ถ้าเรียนไปนานๆ หนูจะรับได้มั้ย สิ่งเหล่านี้เป็นการพูดคุยกับลูก ให้ทราบเพื่อสร้างเป้าหมายง่ายๆ ใ้ห้เด็กมีส่วนรวมตัดสินใจว่า จะเรียนแค่ไหน อย่างไร

ใช้เกณฑ์ง่ายๆ แบบนี้ก่อนในตอนเริ่มต้นนะคะ

บทความต่อไป จะนำเรื่องแรงบันดาลใจภายนอก และภายในมาช่วยกันต่อเติมพัฒนาการจากความชอบของลูกๆ ไม่ยากที่จะทำเลยค่ะ ติดตามในครั้งหน้านะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น