วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แรงจูงใจภายนอก และจากภายใน ??

บทความที่แล้ว ผู้เขียนเกริ่นถึงการพํฒนา สร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับลูกๆ ผ่านการเรียนจากสิ่งที่ชอบ แล้วทิ้งท้ายเรื่องของแรงจูงใจภายใน และภายนอกไว้

มีทฤษฎีอยู่หลายตัว ถ้าอ่านจากหนังสือวิชาการทั่วๆไป แต่ผุ้เขียนขอนำมาอธิบายเฉพาะจุด ซึ่งจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ คุณพ่อคุณแม่สังเกตุอะไรบ้างจากลูกๆ เวลาที่เค้าบอกว่าอยากเรียนโน่น อยากเรียนนี่ อยากทำอันนั้น น่าจะทำอันนี้ เอาแบบที่ตัดความเอาแต่ใจของเจ้าตัวเล็กไปนะคะ ให้ถามลูกต่อว่า "ทำไม" ถ้าเห็นลูกอธิบายได้ นั่นย่อมแสดงว่าเค้ามีแรงจูงใจจากภายใน

ตัวอย่างที่ผู้เขียนมักถามเด็กๆ เวลาเจอกันครั้งแรกเสมอว่า "ทำไมหนูถึงอยากเรียนหล่ะ" คำตอบที่ไ้ด้ก็จะหลากหลาย เช่น อยากระบายสีสวยค่ะ /เห็นเพือนทำที่โรงเรียนแล้วสวยดี เลยอยากเรียนเหมือนเค้าครับ / ชอบวาดรุปค่ะ / วาดรูปแล้วยากครับ อยากวาดได้มากกว่านี้ค่ะ ฟังแล้วจะพบได้เลยว่ามันมีแรงผลักดันบางอย่างทำให้เด็กๆอยาก.... เพื่อให้....ดีขึ้น

ทีนี้เืมื่อเด็กมีแรงจูงใจเกิดขึ้น เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า แรงจูงใจอันนี้แน่วแน่ มั่นคง มีวินัย รับผิดชอบต่อการเรียนให้ตลอดรอดฝั่ง ก็จะต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อ คุณแม่ รวมถึงครูผู้สอน ช่วยกันต่อร้อยโซ่อันนี้ให้ยาวออกไปเรื่อยๆ และหลายครั้งเราก็ต้องให้แรงจูงใจภายนอกเช่นกัน

แรงจูงใจภายนอก เป็นสิ่งที่เราต้องทำอยู่เป็นระยะ เช่น เมื่อเด็กตั้งใจวาดรูปแล้ว อยากเอามาอวดใครต่อใคร
คุณพ่อ คุณแม่ ต้องให้คำชื่นชมอย่างจริงใจ รวมไปถึง การพูดคุย สนทนากับลูกด้วยวิธีง่ายๆ เช่น ระหว่างขับรถ คุณแม่อาจถามลูก ว่าวันนี้ได้โจทย์อะไรบ้าง กระตือรือล้นต่อการถามลูก สนใจสิ่งที่เค้าอธิบาย แล้วตบท้ายด้วย "แม่อยากเห็นรูปนี้จังเลย หนูตั้งใจนะ เดี่ยวแม่มารับ อย่าลืมมาให้แม่ดูเป็นคนแรกนะ" คำที่แสนง่าย แต่ทำให้หัวใจหนูน้อยพองโต เชืือแน่ว่าชั่วโมงนั้น จะเป็นเวลา่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจในการทำงานให้ดีทีสุดทีเดียว

แรงจูงใจภายนอก อาจสร้างจากการตั้งเป้าหมายให้ลูกๆ เช่น เรียนจนถึงรูปสุดท้าย แล้วเราจะไปกินขนมที่หนูชอบที่สุดหนึ่งอย่่าง ต้องจำไว้นะคะ การตั้งเป้าหมาย ต้องไม่ใช่การให้รางวัลด้วยของแพงๆ เช่น เรียนเสร็จทุกครั้ง ถ้าตั้งใจเรียน เราจะไปซื้อ............ รับรองว่าคุณพ่อ คุณแม่ต้องเสียสตางค์มากไปเรื่อยๆไม่รู้จบอย่างแน่นอน

แรงจูงใจภายนอก อาจถามจากลูก โดยให้ลูกตั้งเป้าหมายเอง (เราต้องพิจารณาดูให้เหมาะสมด้วย) เช่น จบระดับใหม่แล้ว จะซื้อสีกล่องใหม่เพิ่มนะ บ้างก็อาจเป็นเรื่องของการพูดคุยกับลูกๆ เพื่อดูว่าแรงจูงใจจากภายในยังสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าลูกเริ่มมีอิดออด ไม่อยากตอบ บ่ายเบี่ยงไปมา ควรรีบพูดคุยกับคุณครูที่สอน จะเป็นการดีกว่า เพราะอาจมีพฤติกรรมบางอย่าง หรือปัจจัยในห้องเรียนที่เราอาจไม่ทราบได้

เร็วๆนี้ ก็มีเด็กที่จู่ๆก็ไม่ยอมเข้าห้องเรียนซะอย่างนั้น ถามตอบกันไปมาหระว่างพ่อ แม่ ครู เลยทราบว่าเด็กไ่ม่อยากวาดมือ เท้า ทีนี้พอถึงแบบฝึกหัดที่ต้องฝึกสิ่งเหล่านี้ เด็กเลยงอแงที่จะเรียน ทีนี้ไปดูรูปเ่ก่าๆของน้อง ก็เริ่มสังเกตุว่า น้องชอบวาดใบหน้า ลำตัว พอถึงมือ เท้า ไหงกลายเป็นโดรเมอนไปซะงั้น ก็เลยถึงบางอ้อกันค่ะ ว่าเพราะน้องไม่มั่นใจ กลัวจะทำไม่ได้ันั้นเอง ก็ต้องพูดคุยอยู่พอสมควรที่เีดียวเลยรายนี้
ก็เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าแรงจูงใจภายใน โดยเฉพาะเด็กๆ มีปัจจับ ตัวแปร ซึ่งต้องสังเกตุ และเอาใจใส่ให้มาก

สรุปก็คือ แรงจูงใจภายใน ถ้าเด็กๆเค้าเริ่มมีกันแล้ว คุณพ่อคุณแม่ ควรพยายามต่อยอดออกไปให้เค้า ด้วยการสร้า่งแรงจูงใจภายนอกเป็นระยะๆ หลี่กเลี่ยงการ ขู่หรือพูดในเชิงลบอย่างเด็ดขาดนะคะ ถ้าลูกอยากเรียนมากเลย แตเวลาไม่มี ควรบอกให้ลูกเข้าใจ และจัดเวลา ตกลงเรื่องความรับผิดชอบ แต่ถ้าทำไม่ได้จริงๆ ก็อาจให้ลูกตั้งใจเรียนก่อน แล้วตอนปิดเทอมถึงจะให้เค้าได้เริ่มทดลองเรียนค่ะ

ถ้าเราจัดการแรงจูงใจให้ลูกอย่างพอเหมาะ ก็จะฝึกให้เค้ารู้จักการรอคอย อดทน พยายามตามสิ่งที่ตั้งไว้
แรงจูงใจที่ลูกๆทำได้แล้วทำสำเร็จ ก็จะต่อยอดเป็นความม่งมั่น กระตือรือล้น ทำงานด้วยตัวเอง รู้จักตั้งเป้าหมายเองได้ในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้โตขึ้นเป็นผุ้ใหญ่อย่างมีคุณภาพต่อไปค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น