วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

10 ข้อควรระวังสำหรับคุณพ่อ คณแม่ในการเลี้ยงลูก

1. อย่าทะเลาะต่อหน้าลูก
   
   คุณพ่อคุณแม่อยู่ด้วยกัน ก็มีบ้างเป็นธรรมดาที่จะต้องทะเลาะกัน แต่การทะเลาะกันของคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายพึงกระทำในที่ลับตาลูกๆจะเป็นการดี เพราะการที่ลูกของคุณเห็นการทะเลาะกันต่อหน้าเขา เขาอาจเกิดความรู้สึกอึดอัด สับสน เกิดความทุกข์หรือความไม่เข้าใจพ่อแม่ก็ได้ ลูกๆไม่รู้ว่าจะเข้าข้างใครดี เพราะทั้งคู่คือ พ่อแม่ของเขาสถานการณ์แบบนี้นานๆเกิดขึ้นสักครั้งก็คงไม่เป็นไร แต่หากเกิดบ่อยครั้งหรือสม่ำเสมอ ลูกๆอาจเข้าใจว่าพ่อแม่นั้นไม่รักกัน แต่ทนอยู่ด้วยกัน
  
     2.  อย่าคาดหวังในตัวลูกมากเกินไป
     
 พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกได้ดี มีอนาคตสวยหรู มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีในอนาคต ฉะนั้นจึงได้พยายามตั้งเป้าหมาย หรือคาดหวังว่าลูกจะต้องทำข้อสอบให้ได้มากที่สุด เพื่อหวังว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ หรือเพื่อจะได้เข้าศึกษาต่อในคณะนั้นคณะนี้ การคาดหวังดังกล่าว หากเด็กไม่มีความพร้อม ไม่มีศักยภาพเพียงพอ เด็กก็ทำไม่ได้เมื่อเขาทำไม่ได้คุณพ่อคุณแม่รวมทั้งลูกก็ต้องมานั่งเสียใจ แต่หากเด็กทำได้ตามที่คาดหวังทุกคนก็ Happy
 
    3. อย่าลืมวางแผนชีวิตให้แก่ลูก
  
 ชีวิตลูก เมื่อเราให้กำเนิดเขามาแล้ว เราคงไม่ปล่อยให้วิถีชีวิตของเขาลอยไปอย่างไร้จุดหมายปลายทาง เราควรมีการวางแผนชีวิตในอนาคตแก่ลูกไว้ล่วงหน้าด้วย เช่น หากเขาเรียนไม่จบมัธยมศึกษาตอนปลายเราจะทำอย่างไร หากเขา Entrance เข้ามหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้เราจะทำอย่างไร หากเขาบอกกับเราว่า เขาไม่อยากเรียนหนังสือเราจะทำอย่างไร ตัวอย่างเหล่านี้คงต้องเตรียมแผน หรือวางแผนชีวิตให้เขาเดินใหม่เราคงไม่ปล่อยให้เขาคิดเอง เพราะเขาอาจมีโลกทัศน์ที่แคบๆขืนให้เขาคิดเองเราอาจรู้สึกลำบากใจก็ได้ เช่น เขาบอกว่าเขาอยากไปเป็นหมอนวด หรือเป็นพวกเอสคอร์ดเซอร์แล้วคุณจะทำอย่างไร ฉะนั้นเราควรคิดหาทางให้เขาไว้ เช่น สร้างงานอิสระเป็นพ่อค้าแม่ค้า ( ค้าในสิ่งที่ถูกกฎหมาย ) เป็นนักกีฬาหรือเป็นนักดนตรีเป็นต้น

     4. 
อย่าเร่งลูกก่อนวัยอันควร

      เด็กจะมีความสุขตามประสาเด็กตามวัยของเขา เช่น วัยประถมศึกษาเป็นวัยที่เขามีความสุขกับการเล่น การวิ่งเล่น หากคุณไม่ให้เล่นหรือวิ่งเล่นก็อาจทำให้เขาขาดพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์และสังคมไป เราควรเลี้ยงเขาตามวัยของเขาไม่ใช่ให้อ่านแต่หนังสือ เรียนพิเศษจนกระทั่งไม่ได้วิ่งเล่น เป็นต้น
       5. อย่าให้ลูกเอาแต่เรียนอย่างเดียว
      การที่ลูกขยันเรียนนับว่าเป็นสิ่งดีเป็นความโชคดีของพ่อแม่เพราะไม่ต้องปากเปียกปากแฉะเรียกให้อ่านหนังสือทำการบ้าน เพราะกลัวสอบไม่ได้ หากลูกของคุณเป็นคนที่เรียนดีอยู่แล้ว แต่ก็ควรเสริมเขาเรื่องอื่นๆ เช่น กีฬา ดนตรี การเล่น การพักผ่อนในรูปแบบต่างๆ เพื่อเด็กจะได้เจริญเติบโตทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และจิตใจไปพร้อมๆกัน การที่เราให้ลูกเอาแต่เรียนพิเศษ จนไม่มีเวลาพักผ่อนตามวัยอย่างเพียงพออาจทำให้เขาขาดทักษะในการเข้าสังคม การทำงานกลุ่มหรือไม่มีมนุษยสัมพันธ์ กลายเป็นเด็กบ้าเรียนสมองโต แต่ขาดเพื่อน อย่างนี้คงไม่ดี
6. อย่าเคร่งครัดกับกฎระเบียบมากจนเกินไป 
    เด็กที่อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียนหรือบ้านนับว่าเป็นสิ่งที่ดีเป็นเด็กน่ารัก แต่หากคุณตีกรอบให้เขามากเกินไป โดยไม่มีการยืดหยุ่น เด็กอาจรู้สึกอึดอัด สับสน เกิดความวิตกกังวล เกิดความทุกข์ เด็กอาจกลัวพ่อแม่จนเกินไป กลัวการถูกลงโทษต่างๆนานา หากคุณเคร่งครัดกับเขามากเกินไป เช่น กินเวลานั้น นอนเวลานั้น ในอนาคตเด็กอาจเป็นคนที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก เป็นต้น ฉะนั้นเราไม่ควรจะตึงจนเกินไป และในทางตรงข้ามเราก็ไม่ควรจะหย่อนยานจนเกินไป ควรพอดีๆ อะไรที่ตึงไปก็ไม่ดี หย่อนไปก็ไม่ดี พระพุทธเจ้าบอกว่าให้เป็นทางสายกลาง
    7. อย่าเอาแต่ใจตนเอง
    ในที่นี้หมายถึงพ่อแม่ไม่ควรเอาแต่ใจตนเอง ทำอะไรทุกอย่างไม่ใช่เพื่อลูกอย่างแท้จริง แต่กลับกลายเป็นเพื่อตนเองทั้งสิ้น เช่น บังคับให้ลูกเรียนโปรแกรมที่ตนเองสนใจ บังคับให้อ่านหนังสือ บังคับให้กินโน่นกินนี่ บังคับให้ทำโน่นทำนี่ หรืออะไรทำนองนี้ เป็นต้น ทำให้เด็กไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ชีวิตนี้จะอยู่ไม่ได้หากขาดพ่อแม่มาคอยบงการชีวิต หรือขีดเส้นให้เดินอย่าลืมว่าพ่อแม่ไม่ได้อยู่กับลูกตลอดไป วันหนึ่งก็ต้องตายจากกันไป
    8. อย่ามัวแต่คิดว่าลูกคนอื่นดีกว่าลูกตัว
    บางครั้งเราอาจชื่นชมกับลูกของเพื่อนๆว่า ลูกเขาเก่ง ลูกเขาดีกว่าลูกเรา หากเราคิดไว้ในใจมันคงไม่เป็นไร แต่หากคุณได้พูดเช้าพูดเย็นพูดตลอดเวลาว่า “ สู้เขาก็ไม่ได้ “ “ทำไมไม่เอาอย่างเขา “” ทำไมเขาทำได้ ทำไมเราทำไม่ได้ “คำพูดทำนองนี้อย่าพูดเสียดีกว่า เพราะพูดไปก็ไม่ทำให้ลูกเราฉลาดขึ้น ดีขึ้น หรือเก่งขึ้น เราควรหาทางค่อยๆพูดให้เขาเข้าใจในเหตุและผลดีกว่าหรือพูดว่า แม่ว่าลูกน่าจะทำได้นะ ถ้าลูกพยายามอีกสักนิด ถ้าลูกดูหนังสือทบทวนมากกว่านี้ แม่ว่าคะแนนลูกน่าจะดีกว่านี้แน่นอน คำพูดลักษณะนี้จะทำให้ลูกมีกำลังใจมากขึ้นเป็นร้อยเท่า
    9. อย่าทำตัวอย่างที่ไม่ดีให้ลูกเห็น
    พ่อแม่ทุกคนอยากทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก ถ้าโอกาสเอื้ออำนวย เพียงแต่บางครั้งอาจเผลอไปบ้าง เช่น ทิ้งบุหรี่บนถนน แซงคิวคนอื่นเพื่อซื้ออาหาร นำของหลวงไปใช้ที่บ้าน เป็นต้น ลูกอาจเกิดการเรียนรู้หรือเหมือนได้รับการขัดเกลาโดยทางอ้อม(Indirect Socialization) เลยทำตามโดยไม่รู้ตัว เพราะตัวอย่างที่ไม่ดีเหล่านี้เห็นมาตั้งนานแล้ว บางเรื่องอาจบอกได้ว่าเป็นนิสัยเสียแล้ว
    10. อย่าก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวของลูก
    เด็กๆทุกคนมีความต้องการเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง อยากมีโลกเป็นตัวของตัวเองอยากฟังเพลง อยากไปเที่ยวนอกบ้านกับเพื่อนๆบ้างเป็นต้น พ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องเข้าใจ และเปิดโอกาสให้เขาบ้างพอสมควร เมื่อถึงวัยอันควร วัยที่พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เช่น อยู่มัธยมปลายแล้วการปล่อยให้ลูกเป็นอิสระนั้น ในที่นี้หมายถึงต้องอยู่ในสายตาของพ่อแม่ พ่อแม่ต้องคอยสอดส่องดูแล พ่อแม่ต้องรับรู้ว่าขณะนี้เขาอยู่ที่ไหน ทำอะไร ไปกับใคร เป็นต้น คำว่า อิสระ ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่ต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับชีวิตของเขาเลย ไม่ใช่อย่างนั้น หากเป็นอย่างนั้นจริงๆลูกก็มีโอกาสเสียคน

    ข้อควรระวังดังกล่าวสิบประการนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องธรรมดามากที่ใครๆก็คิดใครๆก็ทำกันทั้งนั้น แต่หากพิจารณาถึงผลได้ผลเสียให้รอบคอบแล้วจะพบว่าหากเราหลีกเลี่ยงได้ก็คงจะเป็นการดี

ขอขอบคุณบทความดีๆนำมาจาก

งานแนะแนวและศูนย์เพื่อนเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความคาดหวังของพ่อแม่ ทำร้ายลูกหรือปล่าว

คำถามนี้เกิดจากตัวผู้เขียนเองที่มักได้รับประสบการณ์โดยตรง จากความคาดหวังของพ่อแม่ที่คอยปั่นป่วนจิตใจลูกตลอดเวลา คำตอบคงไม่มีอะไรเฉลย ผุ้เขียนขอยกเอาบทความดีๆ ของท่านว.วิชรเมธี จาก http://www.oknation.net/blog/ เมื่อวันที่ 24 มค. 53 มาอ่านให้เกิดข้อคิดดีๆกันค่ะ

ฟังหลักคิด 'ท่านว.วชิรเมธี ' เตือนสติพ่อแม่ เลี้ยงลูกให้เป็น

หากพูดถึง 'งานเลี้ยงลูก ' ถือเป็นงานใหญ่ และสำคัญที่สุดของคนเป็นพ่อแม่ เพราะถือเป็นงานสร้างโลก ผ่านการสร้างลูก ที่ต้องใช้ความละะเอียดอ่อน ละเมียดละไม และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากตัวเด็กมีความซับซ้อนมาก ดังนั้นวิธีการเลี้ยงลูกด้วยตัวเองจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด ในการเข้าใจถึงตัวตน และสิ่งที่ลูกต้องการ แต่จะมีสักกี่ครอบครัว ที่จะเลี้ยงลูกอย่างมีสติ และเข้าใจจริงๆ เพราะส่วนใหญ่จะเลี้ยงโดยคาดหวังให้ลูกเก่ง และทัดเทียมคนอื่น โดยไม่สนใจความรู้สึกของลูก

โดยท่าน ว.วชิรเมธีได้ให้ทัศนะว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่ มีความคาดหวังกับลูกสูงมาก จนบางครั้งเกิดเป็นความ "พลาดหวัง" เพราะถูกกดดันมากเกินไป ซึ่งบางครั้งไม่เพียงแต่อยากให้ลูกได้รับการศึกษาเท่านั้น แต่อยากให้ลูกเทียมหน้าเทียมตาคนอื่นด้วย เพราะหันไปทางนี้ก็เพื่อนพ่อ ทางนั้นก็เพื่อนแม่ ส่งผลให้ลูกต้องถูกใส่ความรู้เต็มไปหมด แต่ขาดทักษะความเป็นมนุษย์ในการใช้ชีวิต

"การให้ลูกเรียนเยอะ ไม่ว่าจะว่ายน้ำ เปียโน ภาษาอังกฤษ กลับมาที่บ้านแล้วยังมีครูสอนศิลปะเสริมอีก ตัวอย่างการจัดการเรียนให้ลูกตรงนี้ เด็กจะเก่งทุกอย่าง แต่เก่งไม่จริงสักอย่าง ขณะเดียวกันจะมีอารมณ์แปรปรวนสูงมาก เช่น ถ้าทำการบ้านเสร็จไม่ทัน ตอนเช้าขึ้นรถกับแม่ไม่ทัน หรือหิวจัด เด็กก็จะกรี๊ด นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่พ่อแม่ไทยตามแก้อยู่ในเวลานี้

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะศักยภาพของเด็กแต่ละคนไม่สามารถจะรับทุกเรื่องได้หมด ทางพระพุทธศาสนาได้บอกไว้ว่า จิตจะทำงานทีละเรื่อง ดังนั้นเมื่อถูกจัดให้เด็กคนหนึ่ง เรียนรู้เท่ากับเด็ก 5 คน แน่นอนว่า เด็กย่อมไม่มีความสุข กลายเป็นพ่อแม่รังแกฉันในที่สุด

ดังนั้น พ่อแม่ควรเลิกให้ลูกเรียนพิเศษ และหันมาเรียนในระบบปกติ รวมทั้งเลิกยัดเยียดความคิดว่าลูกจะต้องทำอันนั้น อันนี้ ขอให้กลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เน้นความสุขของเด็กเป็นศูนย์กลาง"

ในด้านความคาดหวังของพ่อแม่นั้น ท่านว.วชิรเมธี ให้หลักคิดว่า คนเรามีความหวังให้สูงได้ แต่จะต้องเรียนรู้ และพร้อมยอมรับที่จะอยู่กับความผิดหวังให้ได้ด้วย ดังนั้น ความหวังของพ่อแม่ สามารถจัดสภาพแวดล้อมให้ลูกเดินตามทางที่หวังได้ แต่ถ้าลูกไม่สมหวัง พ่อแม่ต้องรู้ว่า โลกนี้อยู่ 2 ด้าน คือ ชื่นชม และขมขื่น ซึ่งการเลี้ยงลูกของมารดา คือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าลูกทำได้ก็ควรชื่นชม แต่ถ้าไม่เป็นดั่งหวัง ก็จะต้องยอมรับ และไม่ทุ่มความผิดหวังไปที่ลูก แล้วบอกลูกเป็นคนที่ใช้ไม่ได้

"ทุกคนบนโลกนี้ ไม่มีใครที่ใช้ไม่ได้ แต่ทุกคนใช้ได้หมด แต่พ่อแม่ต้องมีดวงตาพิเศษ ที่สามารถมองเห็นแววของลูก เพราะแววคนขึ้นอยู่กับแววตา คงไม่มีลูกคนไหนหรอก ที่จะเกิดมาไร้ประโยชน์ ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก พ่อแม่ต้องดูให้ดีว่า ลูกจะเรืองรองอะไรออกมา ฉะนั้นก่อนที่จะคาดหวังลูก พ่อแม่ต้องดูตัวลูกให้ดีก่อนว่า แววของเขา ส่อแสดงถึงแนวโน้มอะไรในอนาคต ถ้าพ่อแม่ส่งเสริมถูกทางก็จะสมหวัง แต่ถ้าส่งเสริมผิดทาง โอกาสที่จะผิดหวังย่อมเกิดได้สูง" ท่านว.วชิรเมธีให้หลักคิด

คิดบวก-พูดบวก ลูกไม่เสีย Self

นอกจากความคาดหวังแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การใช้คำพูดกับการสอนลูก กับเรื่องนี้ 'ท่านว.วชิรเมธี ' ให้มุมมองว่า เรื่องทัศนคติเชิงบวก กับการใช้คำพูดทางบวก มีผลต่อลูกมาก ถ้าพ่อแม่ยิ่งตอกย้ำทัศนคติ และคำพูดด้านลบทุกวันๆ เด็กจะทำอะไรไม่เป็นเลย

เปรียบได้กับผู้บริหารที่ตำหนิลูกน้องทุกวัน ย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพของงานลดลงตามไปด้วย แต่ถ้าเปลี่ยนวิธีใหม่ ลองใช้คำพูดให้กำลังใจเมื่อทำผิดพลาด ประสิทธิภาพของงานก็จะดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากคำพูดที่ดี จะช่วยเสริมให้เกิดกำลังใจ นำไปสู่ความเชื่อมั่นในที่สุด

3 ตัวแปร เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี-มีสุข

การเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี และมีความสุข เป็นเรื่องไม่ง่าย และก็ไม่ยาก ในประเด็นนี้ "ท่านว.วชิรเมธี" ได้ฝากหลักคิดเลี้ยงลูกให้ดี ไว้อย่างน่าสนใจว่า ตัวแปรในการเลี้ยงลูกหลักๆ แล้ว มีอยู่ด้วยกัน 3 อย่างคือ พ่อแม่ต้องมีความรู้ ความรัก และเวลา เมื่อ 3 สิ่งนี้มีให้เด็กอย่างสมดุล เด็กก็จะมีความสุข และเป็นเด็กที่น่ารักของพ่อแม่ และสังคมต่อไป เริ่มจาก

1. ความรู้ พ่อแม่ต้องมีความรู้ในการเลี้ยงลูก อย่าใช้สัญชาตญาณในการเลี้ยงลูก เพราะเด็กเป็นสิ่งที่ซับซ้อนที่สุดในโลก ทั้งความคิด และจิตวิญญาณ โดยเฉพาะพ่อแม่ใบเลี้ยงเดี่ยวทุกคน ที่มักจะไม่มีเวลากับลูก จึงตอบสนองความต้องการของลูกด้วยการตามใจ เช่น ลูกอยากได้คอมพิวเตอร์ไว้เล่นที่บ้าน หรืออยากได้บัตรเครดิต ก็ทำให้ โดยคิดว่า นี่คือการชดเชยในสิ่งที่ลูกขาดหายไป วิธีคิดแบบนี้ จะทำให้ลูกเสียคน

2. ความรัก เมื่อพ่อแม่ให้ความรักกับลูก จะช่วยให้ลูกรักบ้าน เพราะคิดว่าได้รับการเติมเต็มที่พอแล้ว การออกไปเที่ยวเพื่อตามหาความรักนอกบ้านก็จะไม่มี

3. เวลา พ่อแม่บางคนให้ความรักแล้วแต่ไม่ให้เวลา ไม่มีการโอบกอด หรือกินข้าวด้วยกัน มีแต่ส่งข้อความ หรือโทรหาเมื่อคิดถึง

ท้ายนี้ "ท่านว.วชิรเมธี" ได้ฝากแง่คิดไว้เป็นแนวทางให้กับพ่อแม่ยุคใหม่ทุกคนว่า "งานเลี้ยงลูกของบิดามารดาเปรียบเสมือนงานปั้นพระของศิลปิน ต้องทุ่มเททั้งชีวิต ผลสัมฤทธิ์จึงจะออกมาดั่งที่ปรารถนา หมายความว่า เป็นงานที่ต้องเลี้ยงกันด้วยความละเมียดละไม ใส่ใจทุกรายละเอียด ซึ่งศิลปินที่จะประสบความสำเร็จในการปั้นพระ เขาก็ต้องเรียนรู้ก่อน จากนั้นต้องมีจิตใจที่งดงามล้ำเลิศ พระที่ปั้นจึงจะงดงามจริงๆ ที่สำคัญ ต้องให้เวลากับงานปั้นจริงๆ

เช่นกันกับพ่อแม่ การจะทำงานปั้นพระ (ลูกของเรา) ให้เป็นคนประเสริฐของโลก ก็ต้องมีความรู้ ใส่ใจ และละเมียดละไมมากพอ ซึ่งถ้าไม่มีในเรื่องดังกล่าวนี้ ลูกซึ่งเติบโตขึ้นจะกลายเป็นอนุเสาวรีย์ของพ่อแม่ที่ไม่สวยงาม และย้อนกลับมาประจานตัวเราตลอดไป"


วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรียนอะไรพัฒนาสมองทั้ง 2 ด้านคะ

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่น่าจะเคยเห็นก้อนสมองหยักๆและข้อมูลเหล่านี้มาบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ เคยคิดมั้ยว่าเวลาที่ลูกเราไปเรียนอะไร หรือถนัดอะไร น่าจะมาจากสมองซีกไหน ลองมาดูข้อมูลเหล่านี้นะคะ

ความจริงแล้ว โดยปกติสมองทั้ง 2 ซีกจะทำงานร่วมกันค่ะ

สมองซีกซ้ายเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการคิด การทำงานที่เป็นจำพวกนามธรรม นับเลข บอกเวลา บวก ลบ คูณ หาร การใช้่เหตุผล

สมองซีกขวาก็เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สร้างจินตนาการ การสร้างสรรค์ใหม่ๆ ละเมียดละไมด้านดนตรี ศิลปะ นักประดิษฐ์ สร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆทั้งหลายก็ใช้สมองซีกนี้กันหล่ะคะ

ดังนั้น เวลาที่น้องๆมีความคิดริเริ่ม เราจะกระตุ้นซีกขวาให้คิดสิ่งใหม่ๆ สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้จากจินตนาการ
และแสดงผลออกมาด้วยสมองซีกซ้าย ให้เรียงลำดับ ใช้เหตุผล ก่อนนำเสนอออกมาเป็นภาพที่เห็นกันค่ะ

จริงๆแล้วสมองทั้ง 2 ซีกทำงานต่างกันนะคะ ลองนึกดูว่าเวลาเด็กกำลังอธิบายเรา เล่าเรื่องหรือคุยกับเรา ขอให้คุณแม่ทำนั่น นี่โน่น ด้วยเหตุผลล้านประการนั้น เป็นสมองซีกซ้าย แต่เวลาสังเกตุเด็กๆเค้าเล่นกัน ก็ใช้จินตนาการ เช่น กระต่ายน้อย กลายเป็น Super Rabbit ช่วยคนเป็นล้านคน บ้างก็ สมมุติให้ตัวเองเป็นเจ้าหญิงแสนสวยเล่นทำกับข้าว ด้วยสิ่งนานาพัน ที่ไม่อาจกินได้ แต่บอกคุณแม่ว่า "อร่อยนะคะ กินซิคะ" เป็นต้น

ทีนี้คุณพ่อคุณแม่ลองคิดดูสิคะ ว่าที่เด็กๆไปโรงเรียน หรือเรียนอะไรต่อมิอะไรเสริมขึ้นมานั้น ได้พัฒนาสมองทั้ง 2 ซึกหรือไม่ ลองตอบคำถามเหล่านี้ในใจ ประกอบภาพด้านบนและให้คำตอบดูนะคะ

ให้ท่องจำ่ก่อนสอบ ท่องศัพท์ให้แม่น คิดเลขถูกต้องทุกประการ เป็นสมองซีก....
มีระเบียบ กฎเำกณฑ์ มีความรับผิดชอบ วินัยถูกต้อง เป็นสมองซีก.....
ลูกชอบวิชาคำนวณ ท่องศัพท์ เรียนวิชาการได้เกรด A ทุกวิชา เป็นสมองซีก.....
ชอบความแน่นอน มั่นคง ผิดไม่ได้ ต้องเป็นแบบที่คิดว่า เป็นสมองซีก....

ลูกชอบฟังเพลง เรียนดนตรี ชอบสังเกตุ และตั้งคำถามแปลก เป็นสมองซีก.....
มีโลกส่วนตัว เล่นสมมุิติ ขีดเขียนเป็นภาพทั้งเข้าใจ และไม่เข้าใจ เป็นสมองซีก.....
จดจำรายละเอียดปลีกย่อย ที่ไม่ใช่การท่องจำำ แตกแขนงความคิดได้รวดเร็ว เป็นสมองซีก.....
ยือหยุ่น ผ่อนปรน จนบางครั้งดูไม่รับผิดชอบ เรื่อยเปื่อย ไม่ชอบจำกัดเวลา เป็นสมองซีก.....

คุณพ่อคุณแม่ลองดูนะคะ อาจสมมุติได้มากกว่านี้ก็ได้ ทีนี้ก็ลองดูซิว่ากิจกรรมที่เราใ้หักับลูกนั้นบริหารสมองทั้ง 2 ซีกหรือยัง

ลองกลับไปดูงานของน้องๆที่วาดรูปกันใน All kids can do กันนะคะ ว่าน้องๆเค้าใช้สมองทั้ง 2 ซีก ผ่านกระบวนการวาด ลงสีทั้งสิ้นเลย พอเข้าใจกันคร่าวๆแล้วนะคะ ครั้งหน้าจะเอาวิธีบริหารสมองมานำเสนอกันค่ะ



วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรียน Global Art อายุเท่าำไหร่ถึงเรียกว่าช้าเกินไป

Q : เรียน Global Art อายุเท่าำไหร่ถึงเรียกว่าช้าเกินไป ?

A : ช่วงหลังมีผุ้ปกครองใหม่ๆ ที่อยากให้ลูกเรียนมากเหลือเกิน แต่ก็จัดเวลาลำบากเพราะเรียนกวดวิชาสะบั้นหั่นแหลก โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 10 ขวบขึ้นไป ประมาณว่าประถม 5-6 เนี่ย เรียนกันมากกว่า 3 วิชา
หลายคนตั้งใจว่า เมืือลูกสอบเข้ามัธยมต้นเสียก่อน แล้วค่อยมาเรียน แต่ว่า .... มันช้าไปหรือไม่

คำตอบคงเพียงกว้างๆว่า เด็กในแต่ละช่วงอายุมีความต้องการเรียนรู้ที่แตกต่างกันค่ะ

ช่วงอนุบาลเป็นช่วงของการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก คุณพ่อ คุณแม่มักจะบอกว่า "เค้าชอบวาดค่ะ /เขียนทั้งวัน /ระบายสีทุกวันเลยค่ะ / เขียนฝาบ้านจนกลายเป็น wall paper ไปแล้วค่ะ" จึงไม่แปลกใจที่เด็กวัยนี้อยากเริ่มเรียนศิลปะขีดเขียน ระบายสี วาดรูป ทดลองอะไรใหม่ๆเสมอ

วันประถมต้น เป็นช่วงวัยที่บอกความรู้สึกได้ อธิบายได้ เริ่มต้องการแบบอย่าง ต้องการการยอมรับจากเืพื่อนและคนรอบข้าง เริ่มเรียนรู้การเข้าสังคม วัยนี้ถ้าเริ่มเรียนศิลปะ ก็จะช่วยให้น้องๆมองเห็นความแตกต่าง ความคล้าย และความเหมือน เริ่มคิดยืดหยุ่นกับความแตกต่างที่ไม่เหมือนกันได้ดี ชอบการทำกิจกรรมนอกบ้านด้วยค่ะ ดังนั้นเวลาที่เด็กๆช่วงนี้มาเรียนละก็ ถ้าบอกว่าเรียนเสร็จ เรามาเล่นเกมส์กัน หรือมาฟังนิทานด้วยกัน
จะเห็นดวงตาเป็นประกาย แถมรอยยิ้มจนตาหยีเลยหล่ะค่ะ

วัยประถมกลางกลางถึงปลาย วัยนี้ เริ่มคิดได้อย่างเป็นเหตุ เป็นผลมากขึ้นแล้วค่ะ ต้องเพิ่มการเรียงลำดับความคิด สำคัญมากน้อยอย่างมีเหตุและผล เริ่มแสดงเอกลักษณ์ ตัวตนที่เด่นชัดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ อาจเห็นความชอบของลูกชัดเจนมากขึ้น ว่ารักการเล่นกีฬา ดนตรีที่ชอบ หรือแม้กระทั่ง บอกสไตล์การแต่งตัว เืลือกเสื้อผ้าในแบบของตนเองด้วยค่ะ ทีนี้เด็กวัยนี้ ถ้าเรียนศิลปะ ก็จะเริ่มเห็นงานที่เป็นสไตล์ของตัวเองด้วย บางคนชอบวาดตัวละคร ผมชี้โ่ด่เด่ ทั้งทีจริงๆคนวาดหัวเกรียนเชียว บ้างก็วาดการ์ตูนตาหวานแหว๋ว ตัวจริงตาเล็กหยี บ้างก็วาดอะไรก็อ้วนกลมไปหมด ขายาวไปหมด กระโปรงลายดอก กางเกงยีนส์วัยจ้าบ มันจะมาอยู่ในการภาพเวลาที่เค้าลงมือวาด ดังนั้นเวลาเรียน ครูผู้สอนต้องพยายามให้เด็กหาเอกลักษณ์ของตัวเองให้เจอ ถึงจะสะท้อนความคิดของเด็กผ่านการวาดรูปได้อย่างเด่นชัีด อ้ันเป็นพื้นฐานความมั่นใจ เป็นตัวของต้วเองมากขึ้นค่ะ

เรียนอะไร ที่อายุเท่าไหร่นั้น ไม่มีอะไรที่เรียกว่าช้าเกินไปหรอกค่ะ เพียงแต่ว่าคุณพ่อ คุณแม่เห็นความสำัคัญของการเรียนศิลปะ ของลูกเราในแต่ละช่วงอย่างไรเ่ท่านั้น ไม่มีอะไรช้าเกินการเรียน เพราะเด็กแต่วัยมีความต้องการเรียนรู้ที่แตกต่างกันอยู่แล้ว สนับสนุนให้ถูกต้อง และอย่าตัดสินใจอะไรแทนลูกเพียงเพราะว่า พ่อแม่อยากให้..... ไม่อยากให้...... จนลืมมองว่า เราควรเป็นผู้สนับสนุนเค้าต่างหาก

IQ และ E Q ต้องถูกพัฒนาไปพร้อมๆกันตลอดเวลานะคะ และศิลปะก็เป็นสิ่งที่พัฒนา EQ ได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับเด็กทุกๆวัยค่ะ ไว้คราวหน้าจะมาเจาะละเอียดกันเรื่อง IQ กับ EQ นะคะ

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อายุเท่าไหร่ ถึงจะเรียนได้อย่างเหมาะสม

Q: อายุแค่ 4 ขวบ เรียนได้หรือยังค่ะ

A: หลักสูตรที่สร้างขึ้นไว้นั้น เราเริ่มต้นกันตั้งแต่ 4 ขวบค่ะ เป็นเกณฑ์มาตรฐานคร่าวๆเท่านั้น เนื่องจากความพร้อมของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากันนะคะ ดังนั้น คงตอบว่าใช่ ไม่ใช่แน่นอน คงยาก โดยมากเราคำนึ่งถึงเงื่อนไขดังนี้ด้วยค่ะ

- เด็กสามารถอยู่ในห้องเรียนได้อย่างน้อย 1.5 ชั่วโมงได้หรือไม่
- ในระหว่างทดสอบเด็กบอกความต้องการเบื่องต้นแก่คุณครูได้หรือไม่ เช่น หิวน้ำ ต้องการเข้าห้องน้ำ หิวข้าว เหนื่อยแล้ว เป็นต้น
- สามารถห่างคุณพ่อ คุณแม่อยู่ในห้องเรียนได้อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
- มีปฎิสัมพันธ์กับคุณครูได้ ผ่านการถาม ตอบคำถามง่ายๆ เรื่องสี ได้หรือไม่

ซึ่งขึ้นตอนเหล่านี้ เรามักแนะนำคุณพ่อ คุณแม่นัดวันเพื่อทำการทดสอบ และทดลองเรียนเบื้องต้นก่อน จำลองเหตุการณ์เสมือนเรียน บรรยากาศต้องเป็นกันเอง ช่วนเด็กพูดคุย ถามเรื่องราวง่ายๆผ่านโจทย์ภาพที่เรามี สังเกตุการปรับตัวกับเพื่อนๆในห้อง

โดยมากเ็ด็กที่มาครั้งแรก จะแอบฟอร์มกันเสียเยอะค่ะ ก็เลยต้องใช้เวลาอยุ่กับการลองนั่งเรียนกันซะ 1-1.5 ชม. เป็นอย่างน้อย ซึ่งก็ไม่ยากเกินการสังเกตุได้เลย เพราะเด็กส่วนใหญ่ นั่งสักพัก 30 นาที ก็จะเริ่มยุกยิก
อยู่ไม่เป็นสุข ก็จะเริ่มบอกความต้องการ ดูงานเพื่อนๆ มองหาคุณพ่อ คุณแม่

โดยมากหลังจากนาทีนี่หล่ะคะ ที่คุณครูจะเริ่มเห็นแววกันแล้ว ก็จะประเมินทั้งรูปธรรม จากการทำ Replacement Test และประเมินในนามธรรม จากการสังเกตุตามข้อข้า่งบนนั่นหล่ะคะ่

ทีนี้ พอเสร็จสิ้นก็มีเพียง 2 อย่างคือ เรียนได้ กับ ยังไม่พร้อมค่ะ โดยมากที่ผ่านและสามารถเรียนได้ ก็คงต้องให้คุณพ่อ คุณแม่ ไปคุยเรื่องเวลา และพูดคุยกับลูกถึงความพร้อมต่อการเข้าเรียนระยะยาว ว่าพร้อมรับได้หรือไม่ อย่างไร

และถ้ายังไม่พร้อมหล่ะ คำแนะนำเบื้องต้น ก็คือ รอสักระยะราวๆ 4-6 เดือน ให้น้องกลับมาลองทำการทดสอบอีกครั้งค่ะ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม มากกว่าที่จะเข้าทดสอบกันทุกอาทิตย์ หรือ ทุกเดือนค่ะ

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรียนศิลปะ ทำให้เด็กมั่นใจจริงหรือ ??

Q : ไม่มั่นใจในตัวเอง ต้องคอยถามคุณแม่ตลอด เลยพามาเรียนศิลปะ คิดว่าได้มั้ยค่ะ ??

A : การเรียนศิลปะเป็นการพัฒนา EQ = emotion quotient หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ เวลาที่เด็กทุกคนวาดรูปเสร็จ ถ้าคุณครูผู้สอน กระตุ้นเด็กอย่างถูกวิธีแล้วละก็ คุณพ่อ คุณแม่ลองหยิบภาพนั้นมาพูดคุยกับลูกสิคะ แกจะเล่าเป็นฉากๆเลย วาดตรงนี้ เพราะว่ายังงั้น แต่ว่านั่น โน่น นี่ ........

Self Esteem เป็นความภูมิใจ ทุกครั้งที่ผลงานเสร็จ ไม่ว่าจะเลอะ เปรอะ วาดบูดเบี้ยวเสียอย่างไร เด็กๆมักมองผลงานของตัวเอง แล้วก็เฝ้ารอคุณพ่อ คุณแม่จะว่ายังไง ถ้าเราให้คำชมเค้าอย่างเหมาะสม ความภูมิใจเหล่านี้จะสั่งสมในตัวเด็ก ทีละเล็กทีละน้อย จนกลายเป็นความมั่นใจในตัวเองในที่สุดค่ะ

สิ่งที่อยากบอกเล่าคือว่า การมาเข้าเรียนเพียงอาทิตย์ละครั้ง เท่ากับ 1 ปี มากที่สุดที่เด็กๆจะเจอคุณครูก็เพียง 50 ครั้งเท่านั้น แต่เวลาเกือบทั้งหมดอยู่กับคุณพ่อ คุณแม่เสียมากกว่า ดังนั้น ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด ในการสร้างสมลักษณะนิสัยพื้นฐานทีดีแก่เด็ก

ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ เป็นนักจัดการ จัดเตรียมทุกสิ่งอย่างให้ลูกเสียหมดแล้ว เชื่อแน่ว่าการตัดสินใจทำอะไรด้วยตนเองของเด็กคงจะประสบความสำเร็จได้ไม่มาก นั้่นเพราะไม่เคยทำเอง มีคุณแม่บอกเสียทั้งหมด ซึ่่งส่วนใหญ่มักเกิดกับลูกคนแรกของครอบครัวค่ะ

อีกอันก็คือ ถ้าคุณพ่อ คุณแม่เป็นคนเจ้าระเบียบมากนัก หรือมีใครในครอบครัวที่เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ต้องห้าม เพราะด้วยความห่วงใยอันสูงสุด นี้ก็เป็นหนึ่งในการสร้างสมภาวะขาดความมั่นใจของเด็กไปอย่างมากมาย เพราะไม่ว่าหนูจะย่างกรายไปทกหนแห่งใด ก็จะมีคำว่า "ห้ามทำนั่น / ระวังอันนี้ / ไม่ควรอย่างนั้น เพราะว่าแบบนี้ ...... ดีกว่า เชื่อได้ว่าเด็กก็จะกลายเป็นเจ้าแม่แห่งดินแดนที่ผิดไม่ได้ Perfectionist นั่นเอง
คือ แบบว่าเด็กจะไม่กล้าทำเลย ถ้าไม่มีคนแนะนำ หรือพยักหน้าว่าทำได้ และถ้าได้ทำแล้ว ก็ลังเลเสมอว่า
ที่ทำอยู่เนีย จะถูกว่าปล่าว

คุณพ่อ คุณแม่ เคยมั้ยค่ะ ที่เคยดูผลงานเด็ก แล้วบอกว่า

ทำไมหนูไม่ทำอย่างนี้หล่ะ / ทำไมตรงนี้สีมันเลอะออกมา / ทำไมวาดซ้ำๆอยู่ได้ ไม่มีอย่างอื่นให้วาดเหรอ / อืม ก็สวยดีนะ / ทำงานสกปรกจัง ไม่ตั้งใจหรือปล่าว / ทำไมวาดรุปอะไร ก็ไม่สัดส่วนเสียหมด

เด็กๆหลายคน ไม่มีความกระตือรือล้นต่อผลงานเอาเสียเลย เพราะไม่ว่าจะเอาสักกี่ภาพไปให้ดู ก็จะวนมาถูกแนะนำ หรือถามทำไม ไม่ทำ อีกหลายข้อ น่าเห็นใจเด็กๆนะคะ

ดังนั้น การเีรียนศิลปะเป็นเพียงตัวช่วยเสริม ให้เด็กได้มีโอกาสสร้างสรรค์งาน ผ่านความคิดริเริ่มที่อาจจะอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง หรือบ้างก็แฟนตาซี มันสั่งสมบางสิงบางอย่างอยู่ในตัวเด็กๆเสมอ ดังนั้น คุณพ่อ ตุณแม่จึงถือป็นทีมเวิร์ค ที่สำคัญซึ้งจะทำให้เกิดสภาวะความมั่นใจในตัวเองของลูกๆได้

เชื่อแน่ว่า ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ให้กำลังใจลูก และคำชมที่เหมาะสมแ่ก่ลูกแล้วนั้น ความกล้าคิด กล้าตัดสินใจ และแน่นอน ความเป็นตัวของตัวเอง จะค่อยๆสั่งสม จนเด็กที่ก้าวร้าว ก็จะค่อยๆมีพฤติกรรมดีขึ้นค่ะ บางกรณีก็เรียนกันมาตั้งครึ่งปี ก็ดีขึ้นตามลำดับเรื่อยๆค่ะ

คุยกันมายาวเหยียด เกรงว่าอ่านแล้วงง งวย สรปคือว่า ความมั่นใจในตัวเอง สร้างได้จากการเรียนศิลปะจริงค่ะ เร็วช้า ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในบ้านประกอบกันด้วยนะคะ โดยมากก็อย่างน้อยก็สักราวๆ ครึ่งปีเป็นต้นไป


วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แรงจูงใจภายนอก และจากภายใน ??

บทความที่แล้ว ผู้เขียนเกริ่นถึงการพํฒนา สร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับลูกๆ ผ่านการเรียนจากสิ่งที่ชอบ แล้วทิ้งท้ายเรื่องของแรงจูงใจภายใน และภายนอกไว้

มีทฤษฎีอยู่หลายตัว ถ้าอ่านจากหนังสือวิชาการทั่วๆไป แต่ผุ้เขียนขอนำมาอธิบายเฉพาะจุด ซึ่งจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ คุณพ่อคุณแม่สังเกตุอะไรบ้างจากลูกๆ เวลาที่เค้าบอกว่าอยากเรียนโน่น อยากเรียนนี่ อยากทำอันนั้น น่าจะทำอันนี้ เอาแบบที่ตัดความเอาแต่ใจของเจ้าตัวเล็กไปนะคะ ให้ถามลูกต่อว่า "ทำไม" ถ้าเห็นลูกอธิบายได้ นั่นย่อมแสดงว่าเค้ามีแรงจูงใจจากภายใน

ตัวอย่างที่ผู้เขียนมักถามเด็กๆ เวลาเจอกันครั้งแรกเสมอว่า "ทำไมหนูถึงอยากเรียนหล่ะ" คำตอบที่ไ้ด้ก็จะหลากหลาย เช่น อยากระบายสีสวยค่ะ /เห็นเพือนทำที่โรงเรียนแล้วสวยดี เลยอยากเรียนเหมือนเค้าครับ / ชอบวาดรุปค่ะ / วาดรูปแล้วยากครับ อยากวาดได้มากกว่านี้ค่ะ ฟังแล้วจะพบได้เลยว่ามันมีแรงผลักดันบางอย่างทำให้เด็กๆอยาก.... เพื่อให้....ดีขึ้น

ทีนี้เืมื่อเด็กมีแรงจูงใจเกิดขึ้น เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า แรงจูงใจอันนี้แน่วแน่ มั่นคง มีวินัย รับผิดชอบต่อการเรียนให้ตลอดรอดฝั่ง ก็จะต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อ คุณแม่ รวมถึงครูผู้สอน ช่วยกันต่อร้อยโซ่อันนี้ให้ยาวออกไปเรื่อยๆ และหลายครั้งเราก็ต้องให้แรงจูงใจภายนอกเช่นกัน

แรงจูงใจภายนอก เป็นสิ่งที่เราต้องทำอยู่เป็นระยะ เช่น เมื่อเด็กตั้งใจวาดรูปแล้ว อยากเอามาอวดใครต่อใคร
คุณพ่อ คุณแม่ ต้องให้คำชื่นชมอย่างจริงใจ รวมไปถึง การพูดคุย สนทนากับลูกด้วยวิธีง่ายๆ เช่น ระหว่างขับรถ คุณแม่อาจถามลูก ว่าวันนี้ได้โจทย์อะไรบ้าง กระตือรือล้นต่อการถามลูก สนใจสิ่งที่เค้าอธิบาย แล้วตบท้ายด้วย "แม่อยากเห็นรูปนี้จังเลย หนูตั้งใจนะ เดี่ยวแม่มารับ อย่าลืมมาให้แม่ดูเป็นคนแรกนะ" คำที่แสนง่าย แต่ทำให้หัวใจหนูน้อยพองโต เชืือแน่ว่าชั่วโมงนั้น จะเป็นเวลา่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจในการทำงานให้ดีทีสุดทีเดียว

แรงจูงใจภายนอก อาจสร้างจากการตั้งเป้าหมายให้ลูกๆ เช่น เรียนจนถึงรูปสุดท้าย แล้วเราจะไปกินขนมที่หนูชอบที่สุดหนึ่งอย่่าง ต้องจำไว้นะคะ การตั้งเป้าหมาย ต้องไม่ใช่การให้รางวัลด้วยของแพงๆ เช่น เรียนเสร็จทุกครั้ง ถ้าตั้งใจเรียน เราจะไปซื้อ............ รับรองว่าคุณพ่อ คุณแม่ต้องเสียสตางค์มากไปเรื่อยๆไม่รู้จบอย่างแน่นอน

แรงจูงใจภายนอก อาจถามจากลูก โดยให้ลูกตั้งเป้าหมายเอง (เราต้องพิจารณาดูให้เหมาะสมด้วย) เช่น จบระดับใหม่แล้ว จะซื้อสีกล่องใหม่เพิ่มนะ บ้างก็อาจเป็นเรื่องของการพูดคุยกับลูกๆ เพื่อดูว่าแรงจูงใจจากภายในยังสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าลูกเริ่มมีอิดออด ไม่อยากตอบ บ่ายเบี่ยงไปมา ควรรีบพูดคุยกับคุณครูที่สอน จะเป็นการดีกว่า เพราะอาจมีพฤติกรรมบางอย่าง หรือปัจจัยในห้องเรียนที่เราอาจไม่ทราบได้

เร็วๆนี้ ก็มีเด็กที่จู่ๆก็ไม่ยอมเข้าห้องเรียนซะอย่างนั้น ถามตอบกันไปมาหระว่างพ่อ แม่ ครู เลยทราบว่าเด็กไ่ม่อยากวาดมือ เท้า ทีนี้พอถึงแบบฝึกหัดที่ต้องฝึกสิ่งเหล่านี้ เด็กเลยงอแงที่จะเรียน ทีนี้ไปดูรูปเ่ก่าๆของน้อง ก็เริ่มสังเกตุว่า น้องชอบวาดใบหน้า ลำตัว พอถึงมือ เท้า ไหงกลายเป็นโดรเมอนไปซะงั้น ก็เลยถึงบางอ้อกันค่ะ ว่าเพราะน้องไม่มั่นใจ กลัวจะทำไม่ได้ันั้นเอง ก็ต้องพูดคุยอยู่พอสมควรที่เีดียวเลยรายนี้
ก็เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าแรงจูงใจภายใน โดยเฉพาะเด็กๆ มีปัจจับ ตัวแปร ซึ่งต้องสังเกตุ และเอาใจใส่ให้มาก

สรุปก็คือ แรงจูงใจภายใน ถ้าเด็กๆเค้าเริ่มมีกันแล้ว คุณพ่อคุณแม่ ควรพยายามต่อยอดออกไปให้เค้า ด้วยการสร้า่งแรงจูงใจภายนอกเป็นระยะๆ หลี่กเลี่ยงการ ขู่หรือพูดในเชิงลบอย่างเด็ดขาดนะคะ ถ้าลูกอยากเรียนมากเลย แตเวลาไม่มี ควรบอกให้ลูกเข้าใจ และจัดเวลา ตกลงเรื่องความรับผิดชอบ แต่ถ้าทำไม่ได้จริงๆ ก็อาจให้ลูกตั้งใจเรียนก่อน แล้วตอนปิดเทอมถึงจะให้เค้าได้เริ่มทดลองเรียนค่ะ

ถ้าเราจัดการแรงจูงใจให้ลูกอย่างพอเหมาะ ก็จะฝึกให้เค้ารู้จักการรอคอย อดทน พยายามตามสิ่งที่ตั้งไว้
แรงจูงใจที่ลูกๆทำได้แล้วทำสำเร็จ ก็จะต่อยอดเป็นความม่งมั่น กระตือรือล้น ทำงานด้วยตัวเอง รู้จักตั้งเป้าหมายเองได้ในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้โตขึ้นเป็นผุ้ใหญ่อย่างมีคุณภาพต่อไปค่ะ